สถาบัน กศน.ภาคเหนือ เป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 เดิมเป็นสถานศึกษาสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญ ศึกษา ชื่อ “ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ” (15 ตุลาคม 2519) ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้ประกาศ
ตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง จึงได้ยุบศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ โดย แบ่งทรัพย์สินและบุคลากรออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปจัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำ ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ส่วนหนึ่งจัดตั้ง
เป็นศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม คือบริเวณตรงข้าม
สนามกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อศูนย์ใหม่เป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ ส่วนศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนเป็น
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่
สถาบัน กศน.ภาคเหนือ (เดิม ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ) ได้ย้ายจากจังหวัดเชียงใหม่มาตั้ง ณ บ้านน้ำโท้งหมู่ที 5 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
มีเนื้อที่ประมาณ 222 ไร่ซึ่งเป็นเวลาที่การก่อสร้างอาคารที่ ทำการได้ก่อสร้างเสร็จแล้วรุ่นแรก (เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อเดือนพฤษภาคม 2519) มีเจ้าหน้าที่และข้าราชการจากศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ที่สมัครใจมาทำงานที่จังหวัดลำปาง 20 คน การก่อสร้างได้สร้างบ้านพักและที่ทำการต่าง ๆ เรื่อยมาและ เสร็จเรียบร้อยตามโครงการเงินกู้ จากธนาคารโลก เมื่อสิ้นปี2523 มีพิธีเปิดศูนย์ฯ โดยอธิบดี
กรมการศึกษานอกโรงเรียนคนแรก คือ นายบรรจง ชูสกุลชาติ ได้มาเป็นประธานเปิด
ในวันที่ 27 ธันวาคม 2522
ปี 2519 กองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ขึ้น 4 แห่ง คือ ภาคกลางที่จังหวัดราชบุรีภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือที่จังหวัดอุบลราชธานีและภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง โดยรัฐบาลได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาดำเนินการ ลักษณะการก่อสร้างอาคารทั้ง 4แห่ง ที่แตกต่างกัน คือ ที่ศูนย์ฯ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้สถานที่ ศ.อ.ศ.อ. เดิม โดยการปรับปรุง ซ่อมแซม ต่อเติมอาคารเดิมที่มีอยู่ ส่วนที่เหลืออีก 3 ศูนย์ฯ สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดที่ศูนย์ฯ ภาคกลาง
และศูนย์ฯ ภาคใต้ได้ใช้รูปแบบอาคารของบริษัทชัชวาลเดอร์เวอร์เกอร์ทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวธนาคารโลกมีสัญญาจ้างให้เป็น ผู้ออกแบบอาคารต่าง ๆ มีอาคารที่ทำการห้องสมุด โรงฝึกงาน บ้านพักครูและภารโรงสำหรับศูนย์ ฯ ภาคเหนือ มีลักษณะพิเศษ คือ อาคารที่สร้างในปี 2519 ที่ใช้แบบของสถาปนิกกรมสามัญศึกษา ได้แก่ อาคารบริหาร
อาคารฝ่ายหอประชุม โรงอาหาร และบ้านพักครู จำนวน 4 หลัง และอาคารที่ประชุมสัมมนาย่อยอีก 2 หลัง ส่วนอาคารอื่น ๆ ที่สร้างในรุ่นต่อมาใช้แบบของบริษัทชัชวาล
เดอร์เวอร์เกอร์ รวม 12 หลัง ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ด้านการใช้งานของอาคารสถานที่ ได้มีการมอบให้หน่วยงาน กศน. ที่ตั้งขึ้นใหม่ได้ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ศูนย์การศึกษา
นอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง หรือ สำนักงาน กศน. จังหวัดลำปาง จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารโรงฝึกอาชีพเดิม ต่อมาได้มีการประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองลำปาง ได้แบ่งอาคารโรงฝึกอาชีพ จำนวน 1 หลัง ให้เป็นที่ดำเนินงาน ส่วนที่ดินได้จัดแบ่งให้ศูนย์ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง จำนวน 97 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์
ในการจัดสร้างอาคาร และจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ปี 2566 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ไว้ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 19 มีนาคม 2566 เล่มที่ 140 ตอนที่ 20 ก โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 และให้ ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจาก สำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ทั้งนี้ เมื่อวันที่
7 สิงหาคม 2566 กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์หรือสถาบันการเรียนรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะ กิจการในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 โดยได้จัดตั้งสถาบัน ส่งเสริมการเรียนรู้ภาค จำนวน 5 แห่ง คือ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคกลาง สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือ
สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคใต้ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคตะวันออก และสถาบันส่งเสริม การเรียนรู้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ