LGBTQ+ คือกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ นักเรียนกลุ่มนี้ ส่วนมากเมื่ออยู่ที่บ้านกับครอบครัวมักจะถูกบังคับให้ต้องปิดบังความ
เป็นตัวเองทำให้บ้านอาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยจนทำให้เด็กเกิดความกังวล ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนทุกคนได้รับความสบายใจที่จะเปิดเผยตัวตนหรืออัตลักษณ์ทางเพศที่เขาต้องการแสดงออก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกเปิดเป็นประเด็นเพื่อให้สังคมตระหนัก และเห็นถึงปัญหาที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายต้องเผชิญรวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ หลายครั้งบาดแผลของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเรียน เพราะเป็นเรื่องที่ยังขาดความเข้าใจและไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าที่ควร สังเกตได้จากความรุนแรงของการหยอกล้อ กลั่นแกล้ง รังแกกันในหมู่นักเรียน หรือเป็นความรุนแรงจากวัฒนธรรมที่ยังเข้าใจในความแตกต่างไม่มากพอ แล้วเราจะเรียกว่าสถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนเต็มปากได้อย่างไร
นักเรียน LGBTQ+ ส่วนมากถูกบังคับให้ต้องปิดบังตัวตนเมื่ออยู่กับครอบครัว ทำให้บ้านอาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยจนทำให้เกิดความกังวล จนเกิดภาวะซึมเศร้า สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในทุกมุมโลก เช่น ในปี 2563 สหรัฐอเมริกาพบว่าเยาวชน LGBTQ+ 42% คิดฆ่าตัวตาย 70% มีสุขภาพจิตแย่ในช่วงระบาดใหญ่ และ 48% ต้องการคำปรึกษาและมีเพียง 1 ใน 3 บอกว่าบ้านของเขาเป็นมิตรกับ LGBTQ+ ดังนั้นโรงเรียนจึงควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนทุกคนได้รับความสบายใจ ที่จะเปิดเผยตัวตนหรืออัตลักษณ์ทางเพศที่เขาต้องการแสดงออก
*นอกจากนี้ AFT (American Federation of Teachers) ระบุว่าสติกเกอร์โซนปลอดภัยช่วยให้นักเรียนรู้ว่าครู ที่ปรึกษา และผู้บริหาร เปิดกว้างสำหรับการอภิปรายปัญหา LGBTQ+ ในบริบทของงานในชั้นเรียนหรือในการสนทนา และรู้สึกยินดีที่มีครูคอยอยู่เบื้องหลังของพวกเขา
ดังนั้นการส่งสัญญาณสร้างการรับรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ สามารถเริ่มได้จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน โดยครูต้องเป็นผู้หยิบยื่นให้บทบาทกับนักเรียน LGBTQ+ เพื่อให้พวกเขามีความมั่นใจตนเองและแน่ใจได้ว่าพวกเขาปลอดภัย ไม่ได้อยู่คนเดียว ผิดปกติ หรือไม่สบาย เท่าเทียมกับทุกคน และแม้การสร้างห้องเรียนแบบมีส่วนร่วมอาจเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ครูควรปลูกฝังให้นักเรียนเกิดการรับรู้และเข้าใจ ยอมรับความแตกต่าง เพื่อไม่ให้มีใครต้องสร้างความเจ็บปวดและได้รับผลกระทบจากบาดแผลที่สาหัสในวัยเด็ก
อ้างอิง
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.aksorn.com/ac1-lf1-agi